IT Channel

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้



 โครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้



บุคลากรในการจัดการความรู้

1.1 ผู้ปฏิบัติในการจัดการความรู้ = ผู้จัดการความรู้ตัวจริง ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้ 4 ประการ คือ เสาะหา สร้าง สั่งสม และใช้ความรู้ ได้แก่ พนักงานระดับปฏิบัติการ 2 กลุ่ม คือ ผู้ปฏิบัติ กับผู้เชี่ยวชาญความรู้
1.2 วิศวกรความรู้ = ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่ในการตีความและแปลงความรู้ฝังลึกให้เป็นความรู้ที่เปิดเผย จับต้องได้ และนำไปปฏิบัติได้ง่าย ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับพนักงานระดับปฏิบัติ เพื่อให้พนักงานเกิดวิสัยทัศน์และความรู้ของตนในระดับงาน โดยทำหน้าที่หมุนเกลียวความรู้
1.3 ผู้บริหารความรู้ = ผู้บริหารระดับสูงสุด ทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการความรู้ขององค์การธุรกิจ  สร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ไม่เน้นความรู้จากตำรา


2. คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้ในทัศนะของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
2.1 ผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer - CEO)
2.4 คุณกิจ (Knowledge Practitioner - KP)ทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ เป็นผู้มีความรู้ในงานแต่ละประเภทขององค์กร หากลยุทธ์มาดำเนินการเพื่อให้เกิดการจัดการความรู้ในองค์กร เรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลงความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.5 คุณประสาน (Network Manager - NM)

ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงานให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างขึ้น เกิดพลังร่วมมือทางเครือข่ายในการเรียนรู้และยกระดับความรู้แบบทวีคูณ
2.2 คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer - CKO)
2.3 คุณอำนวย (Knowledge Facilitator - KF)
2.4 คุณกิจ (Knowledge Practitioner - KP)
2.4 คุณประสาน (Network Manager - NM)
2.1 ผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer - CEO)
ควรเป็นผู้มีแนวคิดกว้างไกล เน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรในองค์กรอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และควรแสดงการให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการความรู้ อันนำไปสู่วิสัยทัศน์ขององค์กร

2.2 คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer - CKO)

ทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้และเชื่อมโยงเข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ขององค์กร จัดบรรยากาศในการแบ่งปันความรู้ ทักษะในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงท่าที่ชื่นชมในความสำเร็จ

2.3 คุณอำนวย (Knowledge Facilitator - KF)

มีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ จุดประกายความคิดเพื่อเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้บริหาร เชื่อมโยงต่างกลุ่มภายใน



วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 4 องค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์กรที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งส่งเสริม สนับสนุน  ให้เกิดการขยายขีดความสามารถตลอดไปจนถึงศักยภาพของคนในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างแนวความคิด ของกิลลี่ และ เมย์คูนิช
1.1 การเรียนรู้แบบปรับตัว (adaptiue Learning)
1.2 การเรียนรู้โดยตรง (Self-direct learning)
1.3 การเรียนรู้จากประสบการณ์ (experiential learning)
1.4 การเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง (transfor mative learning)
ลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้
1.   การคิดอย่างเผ็นระบบ
2.   ความรสามารถในการบริหารตนเอง
3.   กรอบความคิดภายในหรือความฝังใจ
4.   การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันหรือฝันร่วมกัน
5.   การเรียนรู้เป็นทีม
องค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้
1.   โครงสร้างที่เหมาะสม
2.   วัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กร
3.   การเพิ่มอำนาจและความรับผิดชอบในงาน
4.   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
5.   การสร้างและถ่ายโอนความรู้
6.   เทคโนโลยีการเรียนรู้
7.   มุ่งเน้นคุณภาพ
8.   กลยุทธ์
9.   บรรยากาศที่สนับสนุน
10.การทำงานเป็นทีมและแบบเครือข่าย
11.วิสัยทัศ์

บทที่ 3 ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้

ระบบสารสนเทศ หมายถึง กลุ่มระบบงาน ที่มีคววมสัมพันธ์กัน ทำงานร่วมกันในการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล เผยแพร่ ปละแสดงเป็นสารสนเทศ
ระบบการจัดการความรู้
1.   ระบบฝึกอบรม
2.   ระบบแทรกซึมหรือบูรณาการอยู่กับงานประจำ
3.   ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4.   ระบบฐานข้อมูลความรู้
5.   ระบบการจัดกิจกรรมพิเศษ
6.   ระบบเชื่องโยงกับกิจกรรมจัดการความรู้ภายนอกองค์กร
7.   ระบบรางวัล แรงจูงใจ และสิ่งตอบแทน
8.   ระบบการประเมินการดำเนินการจัดการความรู้
      ประเภทของเทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้
1.   การสร้างความรู้
2.   การเก็บรวบรวมและจัดการความรู้
3.   การกระจายและประสารการไหลเวียนข้อมูล
4.   การแบ่งปันความรู้
5.   เทคโนโลยีการเผยแพร่
6.   เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการประมวลความรู้


บทที่ 2กระบวนการและรูปแบบการจัดการความรู้

ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา รวมถึงประสบการณ์ความเข้าใจ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือปฏิบัติ
รูปแบบความรู้
1.ความรู้ชักแจ้ง (Explicit knowledge)
2.ความรู้ที่อยู่ในตัวตน (tacit knowledge)
กระบวนการสร้างปัญญา 10 ประการ
1.สังเกต
2.บันทึก
3.นำเสนอ
4.ปุฉจา  วิสัชนา
5.ตั้งสมมุติฐาน
6.ตั้งคำถาม
7.แสวงหาคำตอบ
8.วิจัยความรู้ใหม่
9.เชื่อมโยงความรู้กับความจริงรอบตัว
10.เขียนและสรุป
ตัวอย่างแนวคิดด้านการจัดการความรู้ ของโนนาคะและทาเคอุชิ (Nonaka & Takeuchi)
สามารถจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1.1  รับความรู้ภายในสู่ภายใน (socialization)
1.2  นำคาวมรุ้ภายในบุคคล สู่ภายนอก (externalization)
1.3  รับความรู้ภานนอกเข้าสู่ภายในบุคคล (internalization)
1.4  ผนวกความรู้ที่ชัดเจนเข้าด้วยกัน (combination)
เครื่องมือความรู้
1.   ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of  Practice – CoP)
2.   การใช้ที่ปรึกษาหรือพื่เลี้ยง (Mentoring System)
3.   การทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Actionreview – AAR)
4.   การเสวนา (Dialogue)
5.   ฐานความรู้ บทเรียน และความสำเร็จ (Lessow Leamed)
6.   แหล่งผู้รู้ในองค์กร (center of Excallence – CoE)
7.   การเล่าเรื่อง (Story Telling)
8.   เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
9.   เวที ถาม-ตอบ (Forum)
10.อื่น ๆ (Others)

บทที่ 1 แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความรู้

ข้อคิดของ อิกุชิโร โนนาคะ ในสภาพของธุรกิจ สิ่งแน่นอน คือ สิ่งไม่แน่นอน สุดท้ายสิ่งที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ ความรู้
ความหมายของความรู้และการจัดการความรู้สิ่งที่สั่งสมมาจากการปฏิบัติ ประสบการณ์ ปรากฎการณ์ซึ่งได้ยิน ได้ฟัง ความรู้ที่ได้โดยธรรมชาติ ความรู้ที่ได้จากการศึกษา การฝึกฝนจนเกิดทักษะ เมื่อนำความรู้ไปใช้ ก็จะก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ยิ่งใช้ ยิ่งเพิ่ม ยิ่งมีคุณค่า
การจัดการความรู้หมายถึง เน้นการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับการเรียนรู้ร่วมกันของคนภายในองค์กร โดยมีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ได้แก่ การรวบรวมความรู้ การสร้างความรู้ การแบ่งปัแลกเปลี่ยนความรู้ ใช้ความรู้ร่วมกันในการแก้ปัญหา วางแผนกลยุทธ์ การตัดสินใจ และเผยแพร่ความรู้ภานในและภาคนอกองค์กรและการจัดการฐานความรู้ของทรัพยากรบุคคลในองค์กร เพื่อยกระดับความรุ้ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่อย่างมีคุณค่า
ชนิดของความรู้ มี 2 ชนิด คือ วิทยาการ(ความรู้จากการศึกษา) และ ภูมิปัญญา(ความรู้ในตัวตน)
คุณลักษณะของความรู้
1.เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกัน
2.เป็นกิจกรรมที่ แทรก/แฝง ในการทำงาน
3.การจัดการความรุ้เป็นทักษะ
4.ไม่เป็นไปตามกฎ ลดน้อยถอยลง
5.มีการขยายตัวไม่หยุดนิ่ง
6.มีคุณค่าไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ
7.ความเป็นอสมมาตรของความรู้