IT Channel

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

คอมพิวเตอร์ ในสำนักงาน
คอมพิวเตอร์ ในสมัยแรก ๆ ถูกใช้ในวงจำกัด คือ ถูกจัดเป็น ศูนย์ คอมพิวเตอร์ ที่มีหน้าที่ รวบรวมข้อมูลเพื่อการประมวลผล เท่านั้น เป็น ระบบ ที่เรียกว่า Data Processing Center หรือ ศูนย์ประมวลข้อมูล หรือ ศูนย์ประมวลผลข้อมูล
เมื่อระบบ คอมพิวเตอร์ แพร่หลายมากขึ้น จำนวน คอมพิวเตอร์ ในแต่ละองค์กร หรือ หน่วยงาน มีจำนวนเพิ่มขึ้น เกิดความจำเป็น ที่จะต้องเชื่อมโยงระบบ คอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ รับ – ส่ง ข้อมูล จากระบบหนึ่ง ไปยัง อีกระบบหนึ่ง
โชคดี หรือ เป็นจังหวะเหมาะพอดี หรืออะไรก็แล้วแต่ เทคโนโลยีทางด้าน โทรคมนาคม ได้ก้าวหน้าอย่างสูงสุด การเชื่อมโยงระบบ คอมพิวเตอร์ จึงกระทำได้ง่าย โดยใช้สายเคเบิล เชื่อมโยงระบบที่อยู่ไม่ไกลเกินไปนัก และใช้ สายโทรศัพท์ ระหว่างระบบที่อยู่ห่างไกลออกไป แต่ ปัจจุบัน ปรากฏว่า มีการเชื่อมโยงด้วยระบบไร้สาย เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อระบบข้อมูล สามารถกระจายไปสู่หน่วยงานย่อย ใน ต่างสถานที่ บุคลากรทุกระดับในสำนักงาน มีโอกาส สัมผัส ระบบคอมพิวเตอร์ โดยตรง ผู้บริหาร มีโอกาส สอบถามข้อมูล ได้ด้วยตนเอง นักวิชาการ / นักวางแผน สามารถเรียกข้อมูลจากศูนย์คอมพิวเตอร์ มาสู่ สำนักงานของตน เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนขั้นต่อไป

คอมพิวเตอร์ คือ อะไร ?
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ทำงานแทนคน ในด้านการประมวลผลข้อมูล โดยอัตโนมัติ ตามลำดับคำสั่งที่เรียกว่า โปรแกรม

การบริหารสำนักงาน
“เอกสาร” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ สำนักงาน คุณค่าของข้อความในเอกสาร จะมี มาก หรือ น้อย ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ

ส่วนประกอบในเอกสาร
- ข้อความ
- ข้อมูล
- รูปภาพ
เอกสาร ถูกส่งต่อให้ผู้รับ เพื่อผลประโยชน์ในการสื่อสาร

วัฏจักรของเอกสาร
- ถูกผลิต
- ถูกพิมพ์
- ถูกตรวจทาน
- ถูกลงนาม ( อนุมัติให้ส่งต่อไปยังผู้รับ )
- ถูกอ่านเพื่อความเข้าใจ
- ถูกเก็บในแฟ้ม หรือ ถูกทำลายเมื่อหมดประโยชน์
เปรียบเทียบกับโรงงานอุตสาหกรรม
- วัตถุดิบ
- ผ่านระบบเครื่องจักรกล
- ประกอบชิ้นส่วน เป็น ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพื่อการจำหน่าย

นักวิชาการลงความเห็นว่า
เมื่อ ผลิตสินค้าได้ด้วยระบบเครื่องจักรที่ใช้คอมพิวเตอร์ ย่อมจะ ผลิต ระบบเอกสาร ในสำนักงาน ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ได้

ระบบการผลิตในโรงงาน
มีการค้นคว้า เพื่อเป้าหมายของการเพิ่มผลผลิต เช่น การใช้ระบบ คอมพิวเตอร์ ในรูปแบบของ ROBOT

ระบบบริหารในสำนักงาน
ยังคงสภาพของสำนักงาน เมื่อ 30 – 40 ปีก่อน ที่ เอกสารถูกสร้างขึ้นจากเครื่องพิมพ์ดีด แล้ว ถูกส่งจากโต๊ะหนึ่งไปยังอีกโต๊ะหนึ่ง อย่างเชื่องช้า และ ไร้ประสิทธิภาพ

จุดอ่อนของระบบเอกสาร
- การพิมพ์
- การส่ง
- การเก็บ
เพราะฉะนั้น สรุปได้ว่า

การเพิ่มผลผลิตในสำนักงาน ต้องเริ่มต้นจาก การจัดระบบเอกสาร ( เป็นลำดับแรก ) โดยจัดโครงสร้างที่ง่ายต่อการควบคุม จากการวางระบบมาตรฐานในสำนักงาน ทำให้สามารถควบคุม คุณภาพของเอกสาร และ การจัดเก็บได้ในภายหลัง
ระบบเอกสารที่มีคุณภาพแล้ว จะนำไปสู่ Office Automation ที่สมบูรณ์ได้
ระบบเอกสาร อาจถูกจัดระบบโดย Word Processing แล้วให้ คอมพิวเตอร์ ช่วยจัดเรียงเอกสารที่ง่ายต่อการเรียกใช้ แก้ไข ดัดแปลง เก็บ ได้ ครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นการลดแรงงานที่ต้องพิมพ์ซ้ำซาก ได้

หลักการของสำนักงานอัตโนมัติ

หลักด้านปรัชญา
1. การควบคุมท่าที
- สำนักงานเป็นสถาบันมนุษย์
- มนุษย์เป็นผู้ควบคุมระบบสำนักงาน ( อัตโนมัติ / ไม่อัตโนมัติ )
- ท่าที และ ความรู้สึก เป็นตัวควบคุมมนุษย์อีกต่อหนึ่ง
- ท่าทีของฝ่ายบริหาร ( จึง ) มีความสำคัญมาก

2. ความกลัว และ การต่อต้าน
- ความกลัว ทำให้เกิด การต่อต้าน
- การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้อง เปิดเผย และ บ่อยครั้ง จะช่วยขจัดความกลัวของผู้ไม่รู้ ได้

3. การฝึกอบรมช่วยให้เกิดความสำเร็จ
- การอบรมที่ไม่เหมาะสม ย่อมไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มกับการลงทุน
- คนที่ถูกเปลี่ยนไปทำงานอื่น ต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องใหม่ด้วย

หลักการด้านเทคโนโลยี
1. การจัดสำนักงานอัตโนมัติ เป็นงานยาก และมีเรื่องต้องทำมากมาย
- ฮาร์ดแวร์และ ซอฟท์แวร์ เป็นตัวเปลี่ยนรูปโฉมการปฏิบัติงานขององค์กร
- ความล้มเหลวเกิดจากการใช้เครื่องมือไม่ถูกหลักเกณฑ์
- ความสำเร็จเกิดจากความรู้ทางปฏิบัติ และ การใช้ความพยายามอย่างฉลาด
- ทุนก้อนใหญ่ คือ วินัย มิใช่ เทคโนโลยี
- การผูกมัดตนเองของผู้ใช้ เป็นสิ่งจำเป็น

2. เทคนิคที่วิกฤตที่สุด คือ Network
- OA ที่ไม่ทำอะไรเลย จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
- การแยก Word Processor เป็นตัว ๆ จะทำให้พัฒนาข่ายสื่อสารยากขึ้น และเสี่ยงต่อการล้าสมัย
- ระบบ LAN : Local Area Network ที่อยู่นอกแนวทางของเทคโนโลยีหลัก ทำให้ ค่าใช้จ่ายสูง และ ไม่อาจใช้เครื่องมือรุ่นใหม่ ๆ ได้

3. ผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าเดิม ถูกวางตลาดอย่างต่อเนื่อง
- อาจรอคอยไม่ได้
- ทางเลือกอาจเน้นที่ผลตอบแทนในระยะสั้น เพื่อที่จะไม่ล้าสมัยไปกับเครื่องมือที่ใช้อยู่

หลักการด้านการจัดการ
1. หลักการอยู่รอด เป็นเรื่องสำคัญ

2. ผลผลิตที่ดีขึ้น ได้มาจากการจัดการที่ดีขึ้น
- เริ่มจากฝ่ายจัดการ
- สิ่งที่ต้องถูกปรับปรุง มิใช่คณะบุคคล แต่เป็น กระบานการจัดการ

3. การวางแผนที่ดี ทำให้ได้รับความร่วมมือ ไปสู่ความสำเร็จของ OA
- ความต้องการเป็นหน่วยงานประเภทใด
- วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
- ตลาด เป็นอย่างไร
- เป้าหมายระยะยาว และ แผนงานให้บรรลุเป้าหมายนั้น
- การลงทุนทางด้านใดจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้

4. เทคโนโลยีด้านสารสนเทศในการจัดการ
- คุณค่าของการใช้ สารสนเทศ ต่าง ๆ

5. การวิเคราะห์ระบบ
- ช่วยค้นหาวิธีการที่เหมาะสมที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
- งานต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของระบบ ( โดยส่วนรวม )
- ชี้แนะว่า ที่ใดบ้าง ควรใช้ระบบอัตโนมัติ
- คู่มือระเบียบปฏิบัติ เป็นเครื่องมือของหน่วยงาน ที่ขายความคิดเรื่อง OA แก่พนักงาน ให้เข้าใจได้ ( เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ ที่มีราคาแพง )

คุณประโยชน์ของสำนักงานอัตโนมัติ
1. เพิ่มกำไร โดย OA ช่วยสร้าง ข้อความ และ ข้อมูล ที่ถูกต้อง และรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. ประหยัดแรงงาน โดย OA ช่วยสร้าง จัดเรียง จัดเก็บ เอกสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ได้เปรียบคู่แข่งในเชิงพาณิชย์ ยืนหยัดในธุรกิจได้
4. เพิ่มคุณภาพงาน ให้แก่พนักงานทุกระดับ
5. เพิ่มประสิทธิภาพของสำนักงาน ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงาน
6. การขยายขอบเขตบริการ ทำได้อย่างทั่วถึง นำไปสู่ ระบบ OA ที่สมบูรณ์แบบได้

อุปสรรคของ OA
1. ราคาของอุปกรณ์ OA สูง
2. การหาจุดคุ้มทุน สำหรับระบบ OA เป็นเรื่องยาก
3. การต่อต้านจากผู้ที่จะต้องเปลี่ยนนิสัยการทำงาน มาสู่ระบบ OA
4. ระบบความปลอดภัยของเอกสารยังไม่สมบูรณ์
5. ยังไม่เป็นความคิดที่แพร่หลาย

อุปกรณ์ ในระบบ OA ประกอบด้วย
- Data Communication
- Voice Communication
- Computer Output Microfilm
- Graphic
- Telex
- Tele – conference
- Electronic Mail
- Electronic Filing
- Photo Composition
- Dictation
- Optical Reader
- Copier
- Facsimile
- Word Processor
- Data Processor

โครงสร้างองค์การสำนักงาน ( The Office Organization Structure )
หมายถึง การจัดรูปแบบของความสัมพันธ์ ระหว่าง ตำแหน่งต่างๆ กับ ผู้ดำรงตำแหน่ง ต่าง ๆ ในสำนักงาน

แบบโครงสร้างองค์การ ที่นิยมใช้
1. โครงสร้างองค์การแบบงานหลัก ( The Line Organization )
2. โครงสร้างองค์การแบบ งานหลัก และ งานปรึกษา ( Line and Staff Organization )

แบบงานหลัก
จัดความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ ให้มีระดับการบังคับบัญชา จากระดับ สูงสุด ลดหลั่นทางดิ่ง ถึง ระดับต่ำสุด
เหมาะสมต่อ สำนักงาน ขนาดเล็ก ที่มีระดับการบังคับบัญชา 1 หรือ 2 ชั้น กล่าวคือ ( เช่น )
- มีผู้จัดการสำนักงานเพียงคนเดียว หรือ มีผู้รับผิดชอบต่องานสำนักงาน เพียงผู้เดียว
- พนักงานทั้งหมดขึ้นตรงต่อผู้จัดการ

ข้อดี
- ลักษณะโครงสร้าง ง่ายต่อการเข้าใจ
- สายการบังคับบัญชาเด่นชัด
- อำนาจหน้าที่ และ ความรับผิดชอบ ปรากฏเด่นชัด
- การติดต่อกระทำได้รวดเร็ว
- สะดวกต่อการควบคุม

ข้อเสีย
- ขาดการทำงานตามลักษณะเฉพาะอย่าง
- เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกัน
- ผู้บังคับบัญชาต้องรับภาระมาก ต้องมีความรู้-ความสามารถ ในงานทุกอย่าง

แบบงานหลัก และ งานที่ปรึกษา
จัดโครงสร้าง แบบ งานหลัก และ งานที่ปรึกษา รวมกัน โดย หน่วยงานที่ปรึกษา มีหน้าที่เกี่ยวกับ
- ศึกษาค้นคว้า ( วิจัย / วิเคราะห์ ข้อมูล )
- ให้คำแนะนำ ( แก่ หน่วยงานหลักอื่น ๆ และ ผู้จัดการ )
- ให้บริการ
- แก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานหลัก
เหมาะสมกับ สำนักงาน ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ โดยที่ หน่วยงานที่ปรึกษา อาจเกิดได้ทุกระดับ ของการจัดการ

ข้อดี
- หน่วยงานหลัก มีหน้าที่ และ ระเบียบปฏิบัติเฉพาะอย่าง
- หน่วยงานหลัก มีความชำนาญ และ แย่งงานกันทำ
- โครงสร้าง มีความอ่อนตัว
- กิจกรรมต่าง ๆ เพิ่ม หรือ ลด ได้ตามความเหมาะสม
- แบ่งเบาภาระผู้บริหาร
- การประสานงานดีขึ้น หมดปัญหาการขาดคำแนะนำ

ข้อเสีย
- ผู้จัดการหน่วยงานหลัก มักจะไม่สนใจ ต่อ คำแนะนำ จากหน่วยงานที่ปรึกษา
- หน่วยงานหลัก ไม่สนใจข้อมูล ที่ หน่วยงานที่ปรึกษา เสนอให้
- ผู้จัดการหน่วยงานที่ปรึกษา ไม่เสนอความคิดเห็น และการ ตัดสินใจ ให้แก่หน่วยงานหลัก
- การไม่ร่วมมือกัน ระหว่าง ผู้จัดการหน่วยงาน ทำให้ เกิดความสับสน ต่อการตัดสินใจ และการปฏิบัติงาน ของ ผู้ปฏิบัติ

รูปแบบการจัดองค์การ สำนักงาน
ประเด็นที่ต้องพิจารณา
- ส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสำนักงาน
- ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การบริการ ต่อ ฝ่ายอื่น ๆ
รูปแบบการจัด ฯ แตกต่างกันตามความเหมาะสม และลักษณะงานของแต่ละกิจการ ดังนี้
1. การจัดในรูปบริการสำนักงาน ( Office Services Arrangement )
2. การจัดในรูป ระบบ และ ขบวนการปฏิบัติงาน ( The System and Procedure Arrangement )
3. การจัดในรูปบริการการบริหาร ( The Administrative Services Arrangement )
4. การจัดองค์การ บริการ การบริหาร ไว้เป็นที่ปรึกษา ( The Top Staff Administrative Services Arrangement )

หน้าที่ / งาน ขององค์การ รูปแบบต่าง ๆ
แบบที่ 1 งานบริการสำนักงาน
- จุดหมาย และ รายงาน
- ไปรษณีย์ และ ติดต่อสื่อสาร
- การบันทึก จัดทำสำเนา และ จัดเก็บเอกสาร
แต่ละแผนก รับผิดชอบงานบริการเหล่านั้น เป็น การจัดงานบริการสำนักงาน แบบ งานหลัก ( Line Agency ) ซึ่ง จัดโครงสร้างงานบริการ 2 แบบ
- รวมอำนาจ ( Centralization )
- กระจายอำนาจ ( Decentralization )

แบบที่ 2 ระบบ และ ขบวนการปฏิบัติงาน
- ออกแบบ วิธี และ ขบวนการปฏิบัติงาน
- ออกแบบ ระบบสำนักงาน เพื่อพิจารณา
1. ใช้วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อสำนักงาน
2. ให้งานสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
- วิเคราะห์ และ จัด โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- วิเคราะห์ / แนะนำ อุปกรณ์สำนักงาน
- กำหนดมาตรฐานของสำนักงาน
- ศึกษา / หา วิธีการทำงานที่ง่ายกว่า
- ศึกษา เวลา และ การเคลื่อนไหวในการทำงาน
แต่ละแผนก รับผิดชอบการจัดรูประบบ และ ขบวนการปฏิบัติงาน

แบบที่ 3 บริการ การบริหาร
- ความรับผิดชอบทั่วไปของ ฝ่ายบริการการบริหาร
- วิเคราะห์ข้อมูล
- วิเคราะห์ / วางแผน เกี่ยวกับ ระบบ ขบวนการ และ วิธี ปฏิบัติ
- การทำงานของอุปกรณ์สำนักงาน
- บริการสำนักงานต่าง ๆ

แบบที่ 4 คล้ายแบบที่ 3 แต่หน่วยบริการการบริหารเป็นหน่วยงานที่ปรึกษา
- วิเคราะห์ระบบ และ ขบวนการปฏิบัติ ขององค์การทั้งหมด
- ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่องค์การ

สรุป
การจัดแบบโครงสร้าง ฯ ขึ้นอยู่กับ
- ลักษณะของงานในองค์การหนึ่ง ๆ

- ทัศนคติ ของผู้บริหารสูงสุด ต่องานหนังสือ ( ธุรการ )

- ปริมาณพนักงานสำนักงาน

- ความสัมพันธ์ ระหว่าง งานสำนักงาน กับ งานอื่น ๆ

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

50 เท็จจริงของเกมส์สมัยก่อน !

1.ร็อคแมนโดนหนามทีเดียวระเบิดยังกับลูกโป่ง แล้วทำไมบอสไม่เอาหนามมายิงซะเลย
2.เมื่อลูกไม้ตายพุ่งเข้าหาโมริซากิ สิ่งแรกที่ทุกคนคิดคือ "เสาประตูช่วยด้วย"
3.การตายในบอมเบอร์แมนกว่า 90% มาจากระเบิดของตัวเอง ศัตรูส่วนใหญ่แค่ออกมาวิ่งเล่นเฉยๆ
4.หนังสือการ์ตูนเซนต์เซย์ย่าสามารถใช้แทนคู่มือได้ ใครแพ้ทางใครยังไงมีบอกหมด
5.ถ้าเรียกเกมดราก้อนบอลต่อกันแบบสมัยก่อนเป็นภาคหนึ่ง-สอง-สาม-สี่ ปัจจุบันคงต้องเรียกว่า "ดราก้อนบอลห้าสิบ" บ้านผีปอปชิดซ้าย
6.คนเล่นซิมซิตี้ต้องเคยถล่มเมืองตัวเองอย่างน้อยซักครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ
7.แทบไม่เคยมีใครกด Speed เกินสามขั้นในเกมกราดิอุส แม้แต่สูตรอาวุธเต็มยังไม่กดให้เลย แล้วขั้นที่เหลือมันมีไว้ทำไม
8.เกม โอเวอร์แปลว่าไปเล่นใหม่ตั้งแต่ฉากแรกอีกห้าชั่วโมง ไม่ใช่คอนทินิวตรงต้นฉาก กลางฉาก ท้ายฉาก หน้าบอส บอสร่างแรก บอสร่างสองเหมือนสมัยนี้
9.เมื่อแฟนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยมาขอเล่นเกมบ้าง ผู้ชาย (สิ้นคิด) จะเปิดมาริโอไม่ก็เททริสให้ก่อนเป็นอันดับแรก
10.แต่ถ้าเปิดมาไคมูระ เค้าอาจเป็นพวกซาดิสม์ ระวังให้ดี
11.ทุกคนต้องเคยเข้าไปกดๆโยกๆตู้เกม ถึงจะรู้อยู่แก่ใจว่าไม่ได้หยอดเหรียญ
12.แถมบางทีตอนเดโมขึ้นก็ทำเนียนๆเหมือนกำลังเล่นอยู่ด้วย
13.ไม่ว่าจะเป็นเกมตู้ที่ไหนในโลกก็ต้องเจอคนชื่อ AAA ตามไปหลอกหลอนอยู่ตลอด
14.ตัวเอกส่วนใหญ่ชอบพกของห่วยๆไปทำภารกิจระดับโลก ส่วนผู้ร้ายก็ต้องเตรียมอาวุธแรงๆเผื่อให้แย่งตลอดทาง มันเตี๊ยมกันรึเปล่า
15.ไอเทมเติมพลังชอบออกมาบ่อยตอนพลังเต็มอยู่แล้ว เจอกันอีกทีก็วางตรงหน้าตอนเราตาย
16.หรือถ้าไอเทมเติมพลังวางอยู่กลางดงกับดัก ตอนเก็บเสร็จออกมาพลังจะเหลือน้อยกว่าเดิมซะอีก
17.ส่วนไอเทมประเภท "ระเบิดทั้งจอ" หรือ "อมตะชั่วครู่" ก็มักจะโผล่มาตอนไม่มีศัตรูซะงั้น
18.ถ้าเจอเกมให้ตั้งชื่อตัวละครภาษาญี่ปุ่น หลายคนมักจะใส่อักษรเดียวยาวเป็นพรืด
19.อ่านว่าอะไรไม่รู้ แต่แปลได้หมดว่าอันนี้คุย อันนี้สำรวจ อันนี้ไฟ อันนี้น้ำแข็ง
20.คาถาเสกพิษเสกคำสาป เปลือง MP สำหรับศัตรูธรรมดาและใช้ไม่ได้ผลกับบอส มันให้มาทำไม
21.การรัวปุ่มอะไรซักอย่างในฉากสู้ไม่ได้ช่วยให้อัดแรงขึ้น แต่ก็เผลอกดประจำ
22.ซื้อตลับเกม RPG บางทีมีเซฟของใครก็ไม่รู้แถมมาด้วย
23.เวลาใส่พาสเวิร์ดผิดมักจะเป็นแค่ตัวเดียว แต่มันไม่ยอมบอกว่าตัวไหนนี่สิ
24.เกมไหนมีการพนัน เกมนั้นต้องมีคนหมดตัวแล้วโหลดใหม่
25.ภาคต่อส่วนใหญ่จะดีกว่าหรือเทียบเท่าของเดิมเป็นอย่างน้อย ไม่ต้องลุ้นกันตัวโก่งเหมือนเดี๋ยวนี้
26.มีเกมกีฬาที่เล่นกันตามกติกาจริงแทบจะนับได้ กลายพันธุ์เป็นไฟท์ติ้ง,อาร์พีจี,วางแผน,เปิดไพ่ให้วุ่นวายไปหมด
27.ในความเข้าใจของเด็กสมัยนั้น คำว่าดอดจ์จากดอดจ์บอลแปลว่าอัด กติกาคือต้องตายไปข้าง จริงๆแล้วคนละเรื่องเลย
28.ตัวละครผู้ชายจะแมนๆสมชาย ไม่มีหน้าหวานจ๋อยหลุดมาหรอก
29.แต่เพราะกราฟิกจำกัด บางทีตัวละครผู้หญิงก็แมนๆกะเค้าด้วย
30.สะพาน เหล็กเปรียบเสมือนดันเจี้ยน ซื้อเกมคือศัตรูธรรมดา ซื้อเครื่องคือล่าบอส คนเก่งจริงลุยเดี่ยวได้ ถ้าไม่มั่นใจควรหาพรรคพวกไปเป็นปาร์ตี้
31.นาย พรานลาดตระเวน (สำรวจราคา) อัศวินป้องกันการโจมตี (คนขายโม้+ยัดเยียด) ผู้ใช้คาถาทำดาเมจ (ต่อราคา) และนักบวชรักษาอาการบาดเจ็บ (เงินไม่พอ)
32.แทนที่จะสะสมสติ๊กเกอร์ขนมหลอกเด็กไปแลกเครื่องแฟมิคอม เอาเงินไปซื้อเลยง่ายกว่านะ
33.จอยคือแพะตลอดกาล ถ้าพูดได้มันคงอยากบอกว่า "อ่อนเองแล้วอย่าโทษตรูเดะ"
34.แลกตลับเกมด้วยจำนวน K ถ้าเอาแผ่นบลูเรย์ไปคงเหมาได้หมดสะพานเหล็ก
35.สังเกตอันไหนก็อป ต้องดูรูปทรงเหลี่ยมมุม ตำหนิ สี น้ำหนัก คล้ายๆพระเครื่อง
36.ต่อให้หล่นพื้น กรอบพลาสติกกระจุยกระจายก็ไม่หวั่น ขอให้เหลือแค่แผงวงจรก็เล่นได้แล้ว
37.เกมที่ยอดขายเป็นล้านถึงเก็บไว้ก็ไม่ได้ราคาเพราะใครๆก็มีกัน เกมผลิตน้อยหายากสิถึงจะแพง
38.หัวโปรไม่มีอัพเดตเฟิร์มแวร์ เจอเกมเล่นไม่ได้ซื้อใหม่สถานเดียว
39.แฟมิคอมไม่เคยตกยุค มีทั้งสตรีทไฟเตอร์,ไบโอ,เทคเคน แต่ใครสร้างก็ไม่รู้
40.วันดีคืนดีอัพเดตโมเดลใหม่หน้าตาเหมือนเพลย์หนึ่ง เพลย์สอง เพลย์สามได้ด้วย
41.การจูนเครื่องเข้ากับทีวีในสมัยก่อนทำงานด้วยเทคโนโลยี "ระบบสัมผัส" (หมุนๆสาย) และ "จับแรงสั่นสะเทือน" (ทุบ)
42.ไม่เคยมีข่าวว่าเด็กเล่นเคนชิโร่แล้วพยายามระเบิดหัวเพื่อนด้วยปลายนิ้ว หรือเล่นคอนทราแล้วพกปืนไปกราดยิงในโรงเรียน
43.แค่ภาพสาวใส่ชุดบิกินีโผล่มาในเกม เวลาเล่นต้องหลบซ่อนประหนึ่งก่ออาชญากรรมเลยทีเดียว
44.ถ้าจะซื้อเครื่องรุ่นใหม่ คำถามแรกๆที่ต้องเจอคือ "แล้วเครื่องเดิมล่ะ เสียแล้วเหรอ?" ตอบยากชะมัด
45.ไม้เรียวอันเดียวป้องกันเด็กเล่นเกมได้เจ๋งกว่าระบบใส่พาสเวิร์ด Parental Lock สมัยนี้เยอะ
46.นักวิเคราะห์ต้องเอาเครื่องมาชำแหละเพื่อประเมินว่าต้นทุนเท่า ไหร่ คุณแม่ฟังราคามองหน้าคนขายก็รู้แล้วว่าควรต่อเหลือเท่าไหร่
47.พี่น้องเล่นเกมไม่เคยทะเลาะกันเอง ก็เหมือนเล่นมาริโอไม่เคยเก็บเห็ด
48.หลายคนเคยสอบได้ที่หนึ่งเพราะคำว่า "ถ้าทำได้จะซื้อเกมให้" แต่บางทีแค่ติดหนึ่งในห้าก็หยวนๆแล้ว
49.เด็กน้อยหัวเกรียนที่เคยจูงมือคุณพ่อไปซื้อเกมเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ปัจจุบันบางคนกลายเป็นคุณพ่อจูงลูกของตัวเองไปซื้อเกมเหมือนกัน
50.นักเล่นเกมสมัยก่อนสามารถเอาเครื่องเอาเกมมาหยิบยืมแบ่งปันกันได้อย่างสนุกสนาน ไม่มีการคุยโม้โอ้อวดชวนทะเลาะ

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คุณธรรมจริยธรรมสำหรับการจัดการความรู้


คุณธรรมจริยธรรมสำหรับการจัดการความรู้

ศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้

n  การศึกษาจะต้องทำให้คนทั้งหมดมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีศักยภาพ มีความมั่นใจ เป็นพลังอันเข้มแข็งของชาติ
n  ความรู้ในตัวคนมีฐานอยู่ในวัฒนธรรม ความรู้ในตำรามีฐานอยู่ในวิทยาศาสตร์
n  ระบบการศึกษาควรมีฐานอยู่ในวัฒนธรรม
n  ความเป็นชุมชนและประชาสังคม
n  การจัดการความรู้
การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการจัดการความรู้


n  กระบวนการพัฒนาค่านิยมด้วยตนเอง : ค่านิยมในความมัธยัสถ์
n  การประเมินผล
   - ประเมินจากสถานการณ์จริง ครอบคลุมการแสดงออก กระบวนการทำงาน โครงงาน เน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ค้นหาจุดเด่นและข้อค้นพบที่ดีงาม เป็นการประเมินทางบวก เชิงคุณภาพโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด และประเมินโดยอาศัยผู้เกี่ยวข้องหลายด้าน ตั้งแต่ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า ฯลฯ
n  กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม เพื่อการบริโภคที่ถูกต้อง


ระบบสารสนเทศกับแนวความคิดด้านสังคมและจริยธรรม
n  ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
n  ความถูกต้องของข้อมูล (Accuracy)
n  ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
n  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)